Last updated: 20 ก.ย. 2567 | 1817 จำนวนผู้เข้าชม |
ธุรกิจขายอาหารวันนี้ ... หน้าร้าน โลเคชั่นดี ๆ อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป
การสั่งอาหารออนไลน์หรือเดลิเวอรี่เป็นที่นิยมมากขึ้นและกลายเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมาเมื่อโควิด-19 ระบาดในครั้งแรก Cloud Kitchen ก็กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของอุตสาหกรรมร้านอาหาร เมื่อวี่แววของการระบาดโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย และความน่าสนใจคือแม้เมื่อในช่วงหลังการระบาดรอบแรกที่ผ่อนคลายลง ผู้คนเริ่มปรับตัวได้กับชีวิตแบบ New Normal แต่ Cloud Kitchen กลับไม่ใช่เทรนด์ชั่วคราวที่หลายคนเคยคิด
ที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/
สำหรับประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรประเมินว่าจากตัวเลขที่ผู้บริโภคมีการสั่งซื้ออาหารแบบเดลิเวอรี่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่เติบโตสูงถึง 1.5 เท่า จากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและความต้องการบริการส่งอาหารยังคงสูงและมีทิศทางไปในขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการเข้ามาลงทุนธุรกิจร้านอาหารในรูปแบบ Cloud Kitchen มากขึ้น ทั้งเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขยายสาขา จึงคาดว่า ณ สิ้นปี 2565 น่าจะมีจำนวน Cloud Kitchen มากกว่า 50 จุดทั้งในกรุงเทพและปริมณฑลและกระจายออกไปยังหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์มธุรกิจจัดส่งอาหารเองก็เริ่มมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับกระแส Cloud Kitchen เช่น Grabfood ที่มี GrabKitchen และ Lineman ที่มี LINE MAN คลาวด์คิทเช่น เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านอาหารก็เริ่มทำ Cloud Kitchen ที่สามารถสั่งอาหารได้หลายแบรนด์ภายในออเดอร์เดียวเช่นกัน เช่น กลุ่มไมเนอร์, กลุ่มเซ็นทรัล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาหารอร่อยจะเป็นกุญแจสำคัญของการทำร้านอาหารก็จริง แต่การขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับร้านอาหารแบบ Cloud Kitchen นี้ ก็เป็นอีกหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้ยืนยาวและประสบความสำเร็จ
ที่มา: https://www.innnews.co.th/finance/news_52956/
Cloud Kitchens คืออะไร
Cloud Kitchens หรือชื่อเรียกอื่นๆที่อาจจะเคยได้ยินเช่น Ghost Kitchens,Dark Kitchens ซึ่งเป็นเทรนธุรกิจอาหารที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและขยายตัวมากขึ้น สาเหตุหนึ่งมากจากการระบาดของโควิด 19 ที่ส่งผลร้านอาหารหลายร้านต้องปรับตัว แล้ว Cloud Kitchensคืออะไร มารู้จักไปพร้อมๆกัน
คำว่า Cloud หรือคลาวด์หลายคนอาจรู้จักกับเคยใช้งานในรูปแบบการฝากข้อมูล อัพโหลดข้อมูล หรือการดูหนัง ฟังเพลงผ่านระบบคลาวด์ แต่รู้หรือไม่ว่าร้านอาหารก็มีเช่นกัน แล้วบางทีคุณอาจจะใช้งานไปแล้วโดยไม่รู้ตัว
Cloud Kitchensสรุปให้ง่ายและเห็นภาพที่สุดก็คือ ครัวกลางที่จุดประสงค์หลักทำเพื่อส่งเดลิเวอรี่ และครัวกลางนี้จะถูกจัดการโดยร้านอาหาร เป็นร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน ไม่ได้เปิดให้คนไปนั่ง อาจจะทำอยู่ที่ไหนสักแห่งไม่บอกชัดเจนเลยถูกเรียกอีกชื่อว่า Ghost Kitchensโดยรายงานจาก Goldstein Research เผยตัวเลขว่า Cloud Kitchensทั่วโลกนั้นมีมูลค่าร่วมกันกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
หากมองในอีกมุม Cloud Kitchensก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไรนัก หากเทียบกับร้าน พิซซ่าหรือร้านอาหารจีนที่ส่วนใหญ่ไม่มีหน้าร้านเป็นบริการส่งถึงที่มากกว่า แต่จุดเด่นที่ร้านอาหารคลาว์นี้ทำได้คือเทคโนโลยีและระบบการจัดการงานที่ซับซ้อนกว่าร้านอาหารเดลิเวอรี่ทั่วไปอย่างมาก
Cloud Kitchens Business Models ในยุคนี้ มีข้อดีและจุดสังเกตได้ดังนี้
1.รวมอาหารไว้ที่เดียวกัน
อยากให้ทุกคนนึกภาพโกดังขนาดใหญ่ มีเครื่องไม้เครื่องมือทำอาหาร อาจจะมีสักสี่ถึงห้าแถว ที่ทำอาหารแต่ละชนิดกัน นั้นละคือระบบการทำงานที่นิยมใช้กัน ด้วยการที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องบริการลูกค้าที่มานั่งทาน มีแต่การจัดการอาหาร ออเดอร์ ทำให้คลาว์คิทเช่นนั้นมักมีร้านอาหารรวมกันอยู่หลายร้าน เช่น มีร้านไก่ทอด ร้านส้มตำ ร้านอาหารตามสั่ง อารมณ์เหมือนฟู้ดคอร์ทขนาดใหญ่ อาจจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือเป็นการร่วมมือกันก็ได้
2.ต้นทุนต่ำ
หนึ่งในความท้าทายของธุรกิจคือการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าสถานที่ ค่าอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้าน ค่าโปรโมท ค่าพนักงาน อีกทั้งยังมีเรื่องกฏหมายแรงงานที่เข้มงวดเรื่องการทำงานขึ้นเรื่อยๆ Cloud Kitchens นั้นสามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้อย่างดี ตั้งแต่การใช้ทีมที่น้อยลง ค่าสถานที่ถูกเพราะไม่ต้องหาทำเลดีมากนัก ไม่ต้องมีค่าตกแต่งร้าน ไม่ต้องมีส่วนบริการหน้าร้าน และต่อเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้ เมื่อมีหลายครัว หลายร้านอาหาร ก็สามารถสั่งวัตถุดิบมาใช้ด้วยกันได้ทำให้ลดต้นทุนได้มาก ลดโอกาสการเหลือของอาหารที่ทำให้ต้นทุนจม และเมื่อเงินทุนต่ำก็สามารถนำเงินส่วนต่างนี้ไปพัฒนาส่วนอื่นได้มากกว่าร้านอาหารแบบทั่วๆไป
3.ประสิทธิภาพดีขึ้น
ประสิทธิภาพดีขึ้นที่ว่านี้ เมื่อเทียบร้านอาหารทั่วๆไป Cloud Kitchensนั้นถูกสร้างขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีระบบที่มุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิต การทำงานครัว ทำให้มองเห็นขั้นตอนและปัญหาได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัตถุดิบ ลำดับการทำงาน ความเร็วในการจัดการอาหาร ความเร็วในการส่งเดลิเวอรี่
4.มีข้อมูลในมือช่วยให้ปรับตัวได้ตลอดเวลา
Cloud Kitchensนอกจากระบบการจัดการหลังบ้านแล้วในข้อก่อนหน้า การรับออเดอร์หรือคำสั่งซื้อนั้นก็มาจากแอปหรือระบบเว็บแทบจะร้อยเปอร์เซ็น สิ่งนี้ทำให้มี ข้อมูลหรือ Data ในมือ ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว หลายบริษัทที่ทำคลาวด์คิทเช่น ปรับกระบวนการสั่งซื้อ ตารางเวลางานของพนักงาน เมนูอาหาร ได้อย่างรวดเร็ว
5.ไม่ต้องเสียค่าการตลาดสูง
จากข้อที่แล้วที่ Cloud Kitchensส่วนใหญ่ใช้บริการผ่านแอป ทำให้การทำการตลาดนั้นง่ายกว่าการโปรโมทร้านอาหารมาก เพราะในแอปก็โชว์ข้อมูลครบตามที่ต้องการเช่น เมนู ราคา ไม่ต้องพรีเซ้นหน้าตาของร้าน หรือทำการตลาดรวมกับแอปที่ช่วยโปรโมทร้านอยู่แล้วนั้นเอง
ที่มา: MethaData - หาเรื่องใส่หัว
ที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th/
ข้อดีของการทำธุรกิจร้านอาหาร แบบ Cloud Kitchen มีดังนี้
✅สามารถขยายสาขาได้ในต้นทุนที่ลดลง: โดยปกติการเปิดร้านอาหารสักหนึ่งร้านจะมีต้นทุนหลายอย่าง เช่น การตกแต่งร้าน ,การจ้างพนักงานเสิร์ฟและพนักงานในส่วนอื่นๆ , การหาทำเลที่ตั้งจึงทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก แต่การทำ Cloud Kitchen ไม่จำเป็นต้องหาทำเลตกแต่งร้าน หรือจ้างพนักงานมากมาย เพียงมีพื้นที่จัดเตรียมอาหารและปรุงอาหารกับพื้นที่ให้พนักงานรับ-ส่งอาหารมาคอยเท่านั้นก็เพียงพอ จึงช่วยลดต้นทุนลงได้อย่างมาก
✅สามารถปรับเปลี่ยนเมนูและโปรโมชั่นได้ง่าย: โดยปกติเวลาจะปรับเปลี่ยนเมนูในร้านอาหารจะต้องใช้เวลาไปกับการถ่ายรูปและติดรูปบนแผ่นเมนูไว้สำหรับลูกค้าสามารถดูได้รวมถึงการทำโปรโมชั่นอาจจะมีความยุ่งยาก แต่เมื่อมาทำเป็น Cloud Kitchen เพียงแค่ถ่ายรูปเมนูอาหารแล้วอัพรูปลงบนเวบหรือแอพพลิเคชั่นก็สามารถทำได้ง่ายและเร็วกว่ารวมถึงการปรับโปรโมชั่นต่าง ๆ ด้วยก็สามารถทำได้ง่ายและเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
✅สามารถขายได้หลายช่องทาง: เพราะการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้คนต้องอยู่บ้านมากขึ้นหรือ WFH มากขึ้น จนถึงปัจจุบัน ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับวิถีชึวิตยุค New Normal พฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปเดลิเวอรี่ ยังมีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสให้สามารถเปิดร้านอาหารได้ง่ายขึ้น เพียงแค่มีพื้นที่ปรุงอาหารและการรับ-ส่งอาหารให้กับพนักงาน เดลิเวอรี่ ก็สามารถทำได้แล้วและสามารถลงขายได้ในหลายแพลตฟอร์ม
✅สามารถเก็บข้อมูลการซื้อของลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์ได้ง่าย: เพราะร้านอาหารสามารถทราบได้จากระบบว่าในแต่ละวันมีลูกค้าซื้อเมนูใดบ้างเมนูใดมาก เมนูใดน้อย ลูกค้ามาจากไหน มีการซื้อซ้ำหรือไม่ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ร้านอาหารสามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาดทำแคมเปญโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดใจลูกค้าได้
✅เป็นโอกาสของร้านอาหารเล็กๆ ที่จะขยายสาขาได้ : Cloud Kitchen ทำให้ร้านอาหารเล็ก ๆ มีเงินทุนไม่มากสามารถขยายสาขาและขยับขยายเพิ่มพื้นที่การขายได้ ยังรวมไปถึงการที่เจ้าของธุรกิจ ได้เรียนรู้ในการปรับปรุงธุรกิจตัวเอง จะเลิกบางอย่าง หรือเพิ่มบางอย่าง ก็ทำได้โดยง่าย มีความเสี่ยงต่ำกว่าการเปิดร้านอาหารแบบเดิมๆ และหากธุรกิจเติบโต ก็ยังสามารถเปิดขยายเป็นร้านอาหารที่มีพื้นที่รับประทานอาหาร ภายในร้านได้ในภายหลัง
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมากหันมาทำ Cloud kitchen กันมากขึ้น เช่น Grab, LINEMAN, กลุ่มเซนทรัล ฯลฯ รวมไปจนถึงเจ้าของธุรกิจอสังหา ต่างก็เตรียมเปิด Cloud kitchen เช่นกัน
ยังรวมไปถึง ผู้ให้บริการเป็น ออนไลน์แพลทฟอร์ม ที่ชวนเจ้าของร้านอาหารมีชื่อเสียงทั่วไปมาร่วมลงขายกัน ซึ่งแน่นอนว่า ทุกๆร้านอาหาร ที่้จะไปรวมกับแบรนด์ดังๆ ก็ต้องเป็นร้านอาหารที่เป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียง มีลูกค้าที่ติดตามอยู่ระดับหนึ่ง
แต่จริงๆแล้ว โมเดล ของ Cloud kitchen ก็เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการหน้าใหม่ หรือ ผู้ที่มีความสนใจจะทำธุรกิจ แต่ยังไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน
วันนี้.. Food Krub โดย คุณปฤษฎี พงศ์ปารมี จาก SBP PLUS พร้อมที่จะเป็นผู้ช่วย ให้คุณสามารถมีธุรกิจขายอาหาร ที่ลงทุนต่ำ ทำง่าย มีระบบที่จะเข้ามาช่วยบริหารธุรกิจคุณอย่างมืออาชีพ
Food Krub Cloud kitchen โดย SBP PLUS เหมาะกับใคร ?
ค่าบริการสำรวจ และ เริ่มต้นธุรกิจเพียง 3,500 บาท (เฉพาะพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัด กรุณาโทรสอบถาม)
085-193-6779 {ติดต่อ Food Krub}
5 พ.ค. 2561
23 ก.พ. 2566
8 มี.ค. 2561